วัดธรรมามูลวรวิหาร
เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองชัยนาท
สันนิษฐานว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัยทรงสร้างวัดนี้ขึ้นในปี
พ.ศ.๒๑๒๐ และได้มีการบูรณะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูลริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดธรรมามูลถือว่าเป็นน้ำศักดิ์นำไปใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ พระพุทธรูปทองสำริด
ประทับยืนปางห้ามญาติอันมีนามว่า หลวงพ่ธรรมจักร
หลวงพ่อธรรมจักร
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท
ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเชิงเขา วัดธรรมามูลวรวิหาร
เป็นศิลปะประยุกต์ช่างสมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา
มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานดอกบัว
พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ
สูงประมาณ ๔.๕๐ เมตร กลางฝ่าพระหัตถ์มีรอย “ธรรมจักร
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว”
วัดธรรมามูลวรวิหาร ไม่พบหลักฐานทางประวัติอย่างแน่ชัด
มีเพียงตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า มีผู้พบพระพุทธรูปลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกันถึง
๓ องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา) หลวงพ่อวัดบ้านแหลม (วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม) และหลวงพ่อธรรมจักร
(วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท) บ้างกล่าวว่ามีพระพุทธรูปอีกองค์ คือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง ลอยตามมาด้วย
แต่สำหรับหลวงพ่อธรรมจักร เมื่อลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร ปรากฏว่าได้ลอยวนเวียนอยู่บริเวณหน้าวัดแห่งนี้
พระภิกษุและชาวบ้าน จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัด โดยนำเชือกพร้อมด้ายสายสิญจน์ผูกกับพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ กระทั่งตกเย็นจึงแยกย้ายกลับ โดยวางแผนจะมาดึงในวันรุ่งขึ้น
พอถึงรุ่งเช้า ชาวบ้านต่างหาพระพุทธรูปไม่พบ ต่างคิดว่าพระพุทธรูปได้หลุดลอยน้ำไปแล้ว จึงแยกย้ายกันกลับ ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีผู้พบเห็นพระพุทธรูปองค์ที่ลอยน้ำได้มาประดิษฐานปิด ทางเข้าประตูวิหารวัดธรรมามูล เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงได้เรียกชาวบ้านที่อยู่ด้านล่างให้ขึ้นไปดู
ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างต่อเติมพระวิหารออกมาอีกช่วงหนึ่ง รวมเป็น ๓ ช่วง
จากคำบอกเล่า เมื่อองค์หลวงพ่อประดิษฐ์อยู่ได้ ๓ วัน ก็ได้หายไปจากพระวิหาร และกลับมาประดิษฐานดังเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโคลนและจอกแหนติดเปื้อนมาด้วย ชาวบ้านจึงได้นำโซ่มาล่ามผูกไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้หลวงพ่อหายไปอีก
ต่อมามีคนต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือ เพื่อตามหาพระพุทธรูป เมื่อมาถึงท่าน้ำหน้าวัดธรรมามูล ได้พบพระพุทธรูปที่ตามหาอยู่ ขณะนั้นเป็นช่วงพลบค่ำ ชายผู้นั้นจึงได้ขออาศัยนอนอยู่ที่วัด เพื่อรอเวลาอัญเชิญองค์หลวงพ่อกลับ ณ วัดแห่งเดิม
ชายคนนั้น ได้ฝันว่า หลวงพ่อไม่ขอกลับไปด้วย จะขออยู่ที่วัดแห่งนี้
ครั้นรุ่งเช้า จึงได้กราบลาท่านสมภารเดินทางกลับบ้าน และได้ขอถอดเอา "จักร" ที่ฝ่าพระหัตถ์องค์หลวงพ่อกลับไป
นับแต่นั้นมาหลวงพ่อธรรมจักรก็ไม่หายไปไหนอีก ชาวบ้านจึงได้นำโซ่ที่ล่ามออกและได้ร่วมกันสร้าง "จักร" ขึ้นใหม่และจัดให้มีงานสมโภชต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน
ร.ศ.๑๒๐, ๑๒๕ และ ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาสักการะหลวงพ่อธรรมจักร ถึง ๓ ครั้ง ดังมีข้อความปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ ประพาสต้นมีพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๘ เดือนตุลาคม ร.ศ.๑๒๐ ถึง กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ ตามความว่า
"เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ถึงวัดธรรมามูล ขึ้นเขามีราษฎรอยู่มาก พระวิหารใหญ่หลังคาพังทลายลงทั้งแถบ จำเป็นต้องปฏิสังขรณ์ เมื่อนมัสการพระแจกเสมาราษฎรแล้วลงเรือเดินทางต่อมาอีก"
อนึ่ง ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมานั้น สันนิษฐานว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ตามเสด็จมาด้วย โดยพบแผ่นจารึกหินอ่อนที่ด้านบนเสาต้นกลางของซุ้มบันไดที่ติดกับลานพระวิหาร หลวงพ่อธรรมจักร จารึกเกี่ยวกับวัน เดือน ปี และบุคคลที่บริจาค โดยปรากฏเป็นพระนามแรก ทรงบริจาคเงินจำนวน ๒๐๐ บาท
บุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่งที่ได้ตามเสด็จมานมัสการ คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ความตอนหนึ่งว่า
"เมื่อปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ.๒๔๕๓ ขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองเหนือเมื่อฤดูน้ำ ได้พระราชทานกฐินหลวงไปทอดที่ วัดธรรมมามูลด้วย หม่อมฉันไปพักแรมอยู่ที่ชัยนาท รุ่งเช้าออกจากเมืองชัยนาทขึ้นไปบนเขาธรรมมามูล"
ทั้งนี้ วัดธรรมามูลวรวิหาร จัดงานประเพณีนมัสการปิดทองหลวงพ่อธรรมจักร อันเป็นงานประจำปี กำหนดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง คือ ในเดือน ๖ ระหว่างขึ้น ๔-๘ ค่ำ และเดือน ๑๑ ระหว่าง แรม ๔-๘ ค่ำ รวมครั้งละ ๕ วัน ๕ คืน
แต่สำหรับหลวงพ่อธรรมจักร เมื่อลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร ปรากฏว่าได้ลอยวนเวียนอยู่บริเวณหน้าวัดแห่งนี้
พระภิกษุและชาวบ้าน จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัด โดยนำเชือกพร้อมด้ายสายสิญจน์ผูกกับพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ กระทั่งตกเย็นจึงแยกย้ายกลับ โดยวางแผนจะมาดึงในวันรุ่งขึ้น
พอถึงรุ่งเช้า ชาวบ้านต่างหาพระพุทธรูปไม่พบ ต่างคิดว่าพระพุทธรูปได้หลุดลอยน้ำไปแล้ว จึงแยกย้ายกันกลับ ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีผู้พบเห็นพระพุทธรูปองค์ที่ลอยน้ำได้มาประดิษฐานปิด ทางเข้าประตูวิหารวัดธรรมามูล เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงได้เรียกชาวบ้านที่อยู่ด้านล่างให้ขึ้นไปดู
ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างต่อเติมพระวิหารออกมาอีกช่วงหนึ่ง รวมเป็น ๓ ช่วง
จากคำบอกเล่า เมื่อองค์หลวงพ่อประดิษฐ์อยู่ได้ ๓ วัน ก็ได้หายไปจากพระวิหาร และกลับมาประดิษฐานดังเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโคลนและจอกแหนติดเปื้อนมาด้วย ชาวบ้านจึงได้นำโซ่มาล่ามผูกไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้หลวงพ่อหายไปอีก
ต่อมามีคนต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือ เพื่อตามหาพระพุทธรูป เมื่อมาถึงท่าน้ำหน้าวัดธรรมามูล ได้พบพระพุทธรูปที่ตามหาอยู่ ขณะนั้นเป็นช่วงพลบค่ำ ชายผู้นั้นจึงได้ขออาศัยนอนอยู่ที่วัด เพื่อรอเวลาอัญเชิญองค์หลวงพ่อกลับ ณ วัดแห่งเดิม
ชายคนนั้น ได้ฝันว่า หลวงพ่อไม่ขอกลับไปด้วย จะขออยู่ที่วัดแห่งนี้
ครั้นรุ่งเช้า จึงได้กราบลาท่านสมภารเดินทางกลับบ้าน และได้ขอถอดเอา "จักร" ที่ฝ่าพระหัตถ์องค์หลวงพ่อกลับไป
นับแต่นั้นมาหลวงพ่อธรรมจักรก็ไม่หายไปไหนอีก ชาวบ้านจึงได้นำโซ่ที่ล่ามออกและได้ร่วมกันสร้าง "จักร" ขึ้นใหม่และจัดให้มีงานสมโภชต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน
ร.ศ.๑๒๐, ๑๒๕ และ ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาสักการะหลวงพ่อธรรมจักร ถึง ๓ ครั้ง ดังมีข้อความปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ ประพาสต้นมีพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๘ เดือนตุลาคม ร.ศ.๑๒๐ ถึง กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ ตามความว่า
"เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ถึงวัดธรรมามูล ขึ้นเขามีราษฎรอยู่มาก พระวิหารใหญ่หลังคาพังทลายลงทั้งแถบ จำเป็นต้องปฏิสังขรณ์ เมื่อนมัสการพระแจกเสมาราษฎรแล้วลงเรือเดินทางต่อมาอีก"
อนึ่ง ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมานั้น สันนิษฐานว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ตามเสด็จมาด้วย โดยพบแผ่นจารึกหินอ่อนที่ด้านบนเสาต้นกลางของซุ้มบันไดที่ติดกับลานพระวิหาร หลวงพ่อธรรมจักร จารึกเกี่ยวกับวัน เดือน ปี และบุคคลที่บริจาค โดยปรากฏเป็นพระนามแรก ทรงบริจาคเงินจำนวน ๒๐๐ บาท
บุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่งที่ได้ตามเสด็จมานมัสการ คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ความตอนหนึ่งว่า
"เมื่อปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ.๒๔๕๓ ขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองเหนือเมื่อฤดูน้ำ ได้พระราชทานกฐินหลวงไปทอดที่ วัดธรรมมามูลด้วย หม่อมฉันไปพักแรมอยู่ที่ชัยนาท รุ่งเช้าออกจากเมืองชัยนาทขึ้นไปบนเขาธรรมมามูล"
ทั้งนี้ วัดธรรมามูลวรวิหาร จัดงานประเพณีนมัสการปิดทองหลวงพ่อธรรมจักร อันเป็นงานประจำปี กำหนดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง คือ ในเดือน ๖ ระหว่างขึ้น ๔-๘ ค่ำ และเดือน ๑๑ ระหว่าง แรม ๔-๘ ค่ำ รวมครั้งละ ๕ วัน ๕ คืน
หลวงพ่อธรรมจักร เป็นศิลปะประยุกต์ช่างสมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา
มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานดอกบัว พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ
หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ สูงประมาณ ๔.๕ เมตร กลางฝ่าพระหัตถ์มีรอย
"ธรรมจักร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระพุทธรูปองค์นี้
การเดินทางไปวัดธรรมามูลวรวิหาร
สามารถเดินทางโดยใช้รถยนต์ตามเส้นทางพหลโยธินสายเก่า ชัยนาท –
นครสวรรค์ เลยสี่แยกแขวงการทางชัยนาท ประมาณ ๘ กิโลเมตร
กิโลเมตรที่ ๒๘๘ – ๒๘๙ จะมองเห็นเขาธรรมามูลอยู่ทางซ้ายมือ
เลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร
หรือเดินทางโดยรถประจำทางสาย ๑๐๖๔ ชัยนาท – มโนรมย์, สาย ๑๑๒
นครสวรรค์ – ชัยนาท, สาย ๙๐๓ กรุงเทพฯ – อุทัยธานี, สาย ๑๐๖๕
ชัยนาท – วัดสิงห์ และสาย ๑๙ กรุงเทพฯ – วัดสิงห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น