วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สวนนก

                                           สวนนกชัยนาท

                        สวนนกชัยนาท ตั้ง อยู่บริเวณเชิงเขาพลอง หมู่ที่๔ ตำบลเขาท่าพระ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๖ บนพื้นที่ ๒๔๘ ไร่ ๑๓ ตารางวา สวนนกชัยนาทเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและอนุรักษ์นก ตั้งแต่ในสมัยนายกุศล ศานติธรรมดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสวนนกชัยนาท ได้มีการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ปัจจุบันในสวนนกมีกรงนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียครอบคลุมพื้นที่ ๒๖ ไร่ โดยปล่อยให้นกชนิดต่างๆ อยู่ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ภายในสวนนกยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ผู้เข้าชมสวนนกดังนี้




           อาคารศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว เป็น แหล่งให้ข้อมูลการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว โดยได้จัดนิทรรศการรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจาก ๘ อำเภอ ของจังหวัดชัยนาท โดยให้นักท่องเที่ยวได้ชมวีดีทัศน์บนเรือเพื่อบรรยากาศสมจริง นักท่องเที่ยวสามารถค้นคว้าหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทได้ อย่างครบวงจรจากที่นี้





          อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อุบล รัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ชมนิทรรศการวิถีประมงไทย เรือจำลองลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารแสดงพันธ์ปลาฯ เป็นแหล่งรวบรวมปลาน้ำจืดพันธ์ต่างๆ มากกว่า ๙๐ ชนิด ปลาหายาก/สูญพันธุ์ ปลาเศรษฐกิจ ปลาอันตราย เช่น ปลาเสือตอ ปลาตองลาย ปลาเสือสุมาตรา ปลากดหิน เป็นต้น นักท่องเที่ยวจะตื่นตาในอุโมงค์แก้วพบกับปลาน้ำจืดสายพันธ์ยักษ์ ปลาบึกที่ได้ชื่อว่า “ฉลามน้ำจืด” อาคารพันธุ์ปลาเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.





                      ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง สวนนกชัยนาท เกิด ขึ้นเพราะต้องการพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อเปิดประตูสู่โลกแห่งการเรียนรู้เชิง วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระบรมฉายาลักษณ์ และพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจาก ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลว่า “King of Siam Eclipse” ด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑ มาจัดนิทรรศการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง สถานที่นี้มีห้องฉายดาวจุ ๔๐ ที่นั่ง ไว้ให้บริการ เปิดให้เข้าชมวันละ ๖ รอบ เวลา ๐๙.๐๐, ๑๐.๐๐, ๑๑.๐๐, ๑๓.๐๐, ๑๔.๐๐ และ ๑๕.๐๐ น.




          อาคารพิพิธภัณฑ์ไข่นก (Egg Museum) เป็นอาคารที่รวบรวมไข่นกสายพันธ์ต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้ได้เรียนรู้ เปิดเข้าชมทุกวันระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

       อาคารศูนย์ OTOP เป็นแหล่งแสดงสินค้า และผลิตภัณฑ์ระดับ ๕ ดาว ของชุมชนในจังหวัดชัยนาท ให้เลือกเป็นของฝากและของที่ระลึกจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
         สวนนกชัยนาทเปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท (ค่าเข้าดังกล่าวสามารถเข้าชมได้ทุกอาคารในสวนนก) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สวนนกชัยนาท โทร. ๐ ๕๖๔๗ ๖๖๒๔ หรือที่ อบจ.ชัยนาท โทร. ๐ ๕๖๔๗ ๖๖๑๗

     การเดินทาง สวนนกชัยนาทตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน(ทางหลวงหมายเลข ๑)ก่อนถึงตัวเมือง ๔ กิโลเมตร ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึงสี่แยกถนนสายเอเชีย ช่วงชัยนาท –ตาคลีเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข๑ประมาณ ๗ กิโลเมตร สวนนกชัยนาท อยู่ทางขวามือ


  

เครดิต คลิก

วัดธรรมามูล

วัดธรรมามูลวรวิหาร



     วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองชัยนาท สันนิษฐานว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัยทรงสร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๒๐ และได้มีการบูรณะในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูลริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดธรรมามูลถือว่าเป็นน้ำศักดิ์นำไปใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ พระพุทธรูปทองสำริด ประทับยืนปางห้ามญาติอันมีนามว่า หลวงพ่ธรรมจักร
      หลวงพ่อธรรมจักร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเชิงเขา วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นศิลปะประยุกต์ช่างสมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานดอกบัว พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ สูงประมาณ ๔.๕๐ เมตร กลางฝ่าพระหัตถ์มีรอย “ธรรมจักร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว”  




        วัดธรรมามูลวรวิหาร ไม่พบหลักฐานทางประวัติอย่างแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า มีผู้พบพระพุทธรูปลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกันถึง ๓ องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา) หลวงพ่อวัดบ้านแหลม (วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม) และหลวงพ่อธรรมจักร (วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท) บ้างกล่าวว่ามีพระพุทธรูปอีกองค์ คือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง ลอยตามมาด้วย

แต่สำหรับหลวงพ่อธรรมจักร เมื่อลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร ปรากฏว่าได้ลอยวนเวียนอยู่บริเวณหน้าวัดแห่งนี้

พระภิกษุและชาวบ้าน จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัด โดยนำเชือกพร้อมด้ายสายสิญจน์ผูกกับพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ กระทั่งตกเย็นจึงแยกย้ายกลับ โดยวางแผนจะมาดึงในวันรุ่งขึ้น

พอถึงรุ่งเช้า ชาวบ้านต่างหาพระพุทธรูปไม่พบ ต่างคิดว่าพระพุทธรูปได้หลุดลอยน้ำไปแล้ว จึงแยกย้ายกันกลับ ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีผู้พบเห็นพระพุทธรูปองค์ที่ลอยน้ำได้มาประดิษฐานปิด ทางเข้าประตูวิหารวัดธรรมามูล เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงได้เรียกชาวบ้านที่อยู่ด้านล่างให้ขึ้นไปดู

ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างต่อเติมพระวิหารออกมาอีกช่วงหนึ่ง รวมเป็น ๓ ช่วง

จากคำบอกเล่า เมื่อองค์หลวงพ่อประดิษฐ์อยู่ได้ ๓ วัน ก็ได้หายไปจากพระวิหาร และกลับมาประดิษฐานดังเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโคลนและจอกแหนติดเปื้อนมาด้วย ชาวบ้านจึงได้นำโซ่มาล่ามผูกไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้หลวงพ่อหายไปอีก

ต่อมามีคนต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือ เพื่อตามหาพระพุทธรูป เมื่อมาถึงท่าน้ำหน้าวัดธรรมามูล ได้พบพระพุทธรูปที่ตามหาอยู่ ขณะนั้นเป็นช่วงพลบค่ำ ชายผู้นั้นจึงได้ขออาศัยนอนอยู่ที่วัด เพื่อรอเวลาอัญเชิญองค์หลวงพ่อกลับ ณ วัดแห่งเดิม

ชายคนนั้น ได้ฝันว่า หลวงพ่อไม่ขอกลับไปด้วย จะขออยู่ที่วัดแห่งนี้

ครั้นรุ่งเช้า จึงได้กราบลาท่านสมภารเดินทางกลับบ้าน และได้ขอถอดเอา "จักร" ที่ฝ่าพระหัตถ์องค์หลวงพ่อกลับไป

นับแต่นั้นมาหลวงพ่อธรรมจักรก็ไม่หายไปไหนอีก ชาวบ้านจึงได้นำโซ่ที่ล่ามออกและได้ร่วมกันสร้าง "จักร" ขึ้นใหม่และจัดให้มีงานสมโภชต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน

..๑๒๐, ๑๒๕ และ ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาสักการะหลวงพ่อธรรมจักร ถึง ๓ ครั้ง ดังมีข้อความปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ ประพาสต้นมีพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๘ เดือนตุลาคม ร..๑๒๐ ถึง กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ ตามความว่า

"เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ถึงวัดธรรมามูล ขึ้นเขามีราษฎรอยู่มาก พระวิหารใหญ่หลังคาพังทลายลงทั้งแถบ จำเป็นต้องปฏิสังขรณ์ เมื่อนมัสการพระแจกเสมาราษฎรแล้วลงเรือเดินทางต่อมาอีก"

อนึ่ง ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมานั้น สันนิษฐานว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ตามเสด็จมาด้วย โดยพบแผ่นจารึกหินอ่อนที่ด้านบนเสาต้นกลางของซุ้มบันไดที่ติดกับลานพระวิหาร หลวงพ่อธรรมจักร จารึกเกี่ยวกับวัน เดือน ปี และบุคคลที่บริจาค โดยปรากฏเป็นพระนามแรก ทรงบริจาคเงินจำนวน ๒๐๐ บาท

บุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่งที่ได้ตามเสด็จมานมัสการ คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ..๒๔๘๑ เป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ความตอนหนึ่งว่า

"เมื่อปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ..๒๔๕๓ ขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองเหนือเมื่อฤดูน้ำ ได้พระราชทานกฐินหลวงไปทอดที่ วัดธรรมมามูลด้วย หม่อมฉันไปพักแรมอยู่ที่ชัยนาท รุ่งเช้าออกจากเมืองชัยนาทขึ้นไปบนเขาธรรมมามูล"

ทั้งนี้ วัดธรรมามูลวรวิหาร จัดงานประเพณีนมัสการปิดทองหลวงพ่อธรรมจักร อันเป็นงานประจำปี กำหนดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง คือ ในเดือน ๖ ระหว่างขึ้น ๔-๘ ค่ำ และเดือน ๑๑ ระหว่าง แรม ๔-๘ ค่ำ รวมครั้งละ ๕ วัน ๕ คืน







             หลวงพ่อธรรมจักร เป็นศิลปะประยุกต์ช่างสมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานดอกบัว พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ สูงประมาณ ๔.๕ เมตร กลางฝ่าพระหัตถ์มีรอย "ธรรมจักร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระพุทธรูปองค์นี้



                การเดินทางไปวัดธรรมามูลวรวิหาร สามารถเดินทางโดยใช้รถยนต์ตามเส้นทางพหลโยธินสายเก่า ชัยนาท – นครสวรรค์ เลยสี่แยกแขวงการทางชัยนาท ประมาณ ๘ กิโลเมตร กิโลเมตรที่ ๒๘๘ – ๒๘๙ จะมองเห็นเขาธรรมามูลอยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร หรือเดินทางโดยรถประจำทางสาย ๑๐๖๔ ชัยนาท – มโนรมย์, สาย ๑๑๒ นครสวรรค์ – ชัยนาท, สาย ๙๐๓ กรุงเทพฯ – อุทัยธานี, สาย ๑๐๖๕ ชัยนาท – วัดสิงห์ และสาย ๑๙ กรุงเทพฯ – วัดสิงห์


เครดิต คลิก


 

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัดปากคลองมะขามเฒ่า

    วัดปากคลองมะขามเฒ่า (จ.ชัยนาท)

                 นับ ว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัด ชัยนาท ซึ่ง เป็นสถานที่ ที่ทุกคนต่างให้ความสนใจอยากที่จะมาไหว้หรือมาสักการะบูชาไม่ลืมที่จะแวะมา ที่วัดแห่งนี้ เดิมมีชื่อเรียกสั้นๆว่า "วัดมะขามเฒ่า" ทุกคนต่างรู้จักกันในนามของวัด"หลวงปู่ศุข" นั่นเอง..............



         วัด ปากคลองมะขามเฒ่า (วัดหลวงปู่ศุข) ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุที่เรียกว่า “วัดปากคลองมะขามเฒ่า”เนื่องจากเดิมมีต้นมะขามเก่าแก่ต้นหนึ่งอยู่บริเวณริม ฝั่งแม่เจ้าพระยาติดกับหน้าวัดปากคลอง วัด นี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามรื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วยหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุขเป็นเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปต่างเลื่อมใสศรัทธาท่านในด้าน ความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยตำนานที่ยังเล่าขานกันสืบมาในเรื่องของวิชาอาคมและเครื่องรางของขลัง ความนิยมในพระเครื่องหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีอยู่สูงมากใน ปัจจุบันแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 แต่ความเคารพศรัทธานั้นไม่เคยเสื่อมคลาย หลวงปู่ศุขยังได้สร้างพระเครื่องที่เรียกว่า “หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า”ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นิยมนำไปสักการะบูชา หลวงปู่ศุขได้พัฒนาวัดปากคลองมะขามเฒ่าจนมี ความเจริญรุ่งเรือง ด้วยความเมตตาของท่านนั้นทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมาย และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนสิ้นอายุขัยด้วยวัย 76 พรรษา ปัจจุบันวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีกุฏิของท่านเป็นแบบทรงไทยโบราณ ภาพถ่ายและข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งหุ่นขี้ผึ้งและรูปหล่อของหลวงปู่ศุขพร้อมด้วยรูปหล่อกรมหลวงชุมพรเขต อุดมศักดิ์ ไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาโดยทั่วกัน สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้ คือ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ในพระ อุโบสถติดอยู่ตามผนังเป็นภาพพุทธประวัติ ที่ทรงวาดร่วมกับข้าราชบริพาร ทั้งหมดเขียนด้วยอักษรขอมผนังด้านใต้มีภาพเขียนบอกเวลาที่เขียนไว้คือปี พ.ศ.2433 เพื่อถวายหลวงปู่ศุข เมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถซึ่งทางวัดยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ความเชื่อและวิธีการบูชา ชาวจังหวัดชัยนาทและชาวไทยทั่วทุกสารทิศที่ศรัทธาในหลวงปู่ศุข เชื่อกันว่าบารมีของท่านจะช่วยดลบันดาลให้ผู้ที่มากราบไหว้ขอพรถึงวัดปาก คลองมะขามเฒ่า มีความสุขสมความปรารถนา มีสิริมงคลต่อชีวิตและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และยังเชื่อในการบูชาเครื่องรางของขลังของหลวงปู่ศุข ว่าให้คุณทั้งในด้านโชคลาภเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา9.00-11.00 น. และ14.00-17.00 น.การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 25กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ตามทางหลวงหมายเลข 3183 กิโลเมตรที่ 36–37

หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

อุปสมบท

            เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทองล่าง จังหวัดนนทบุรี โดยมีพระอธิการเชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านก็จำพรรษาอยู่ที่นี้ หลวงปู่ศุข ท่านได้อยู่ปรนนิบัติอาจารย์ซึ่งเป็นพระที่เคร่งครัดในด้านวิปัสสนา จึงได้ศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเวทมนตร์คาถา ต่อมาท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาอยู่ที่ วัดสามง่าม ปทุมวัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชนะสงคราม บางลำพู ณ ที่นี่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานจังหวัดพิจิตร ได้ศึกษาวิชาต่างๆร่วมกันท่านทั้งสองจึงมีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ



มรณภาพ

             หลวงปู่ศุขมรณภาพเมื่อวันที่23 ธันวาคม พ.ศ.2466 ตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสิริอายุได้ 76 ปี นับพรรษาได้ 54 พรรษา

             และสิ่งหนึ่งของหลวงปู่ศุขที่ทำให้บุคคลต่างๆต่างให้ความเคราพนับถือศรัทธาคือด้านพระกรรมฐานและพระเวทวิทยาคม




เครดิต คลิก

ร้านอาหารแนะนำ



ร้านบ้านชาวดิน
ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000
โทรศัพท์ 056-477588 ขายอาหารประเภทปลา และอาหารตามสั่ง เวลาเปิด 17.00 - 22.00 น.


 








 



---------------------------------------------------------

ห้องอาหารปองฤทัย

 


ห้องอาหารปองฤทัย

1-1/10 ถ.พหลโยธิน ต.เขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000
โทรศัพท์ 056-414486, 081-7274602  ขายอาหารประเภทปลา,กาแฟสดและอาหารไทยตามสั่งทั่วไป





---------------------------------------------------------


ร้านเลมอนเฮาส์ 
 




ร้านเลมอนเฮาส์
358 หมู่ 5 ถนนหมายเลข 340 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000
โทรศัพท์ 081-2584082 ขายอาหารตามสั่งและอาหารฝรั่ง เวลาเปิด 10.00 - 21.00 น.



















---------------------------------------------------------

เรือนริมน้ำอรัญญา 




เรือนริมน้ำอรัญญา
ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท โทร.056-421449 เปิด 11.00 - 22.00 น.
อาหารไทย-อาหารจานปลา ติดแม่น้ำเจ้าพระยา







---------------------------------------------------------

ร้านเถ่าชิ่วสุกี้




ร้านเถ่าชิ่วสุกี้
ร้านเถ่าชิ่วสุกี้ ร้านเก่าแก่ดั้งเดิมในตัวเมืองชัยนาท โด่งดังเรื่องสุกี้และอาหารตามสั่งต่างๆ
ตั้งอยู่บนถนนพรหมประเสริฐ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
เบอร์โทรศัพท์
056-411431 






 


 

---------------------------------------------------------
 ครัวแหลมหว้า


  
 ครัวแหลมหว้า
ร้าน "ครัวแหลมหว้า" อาหารป่า อาหารพื้นบ้านและส้มตำ ลาบ เมนูเด็ด เช่น ต้มยำปลาคัง กบทอดกระเทียม ยำเห็ด ฯลฯ

ร้านครัวแหลมหว้า บรรยากาศแบบบ้านๆ ตัวร้านตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดแหลมหว้า ต.เสือโฮก อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท
โทรศํพท์ 087-1961603
ร้านเปิดให้บริการ 09.00 น. - 17.00 น.





  




---------------------------------------------------------

แล้วยังมีรายชื่อร้านที่ไม่ได้ review อีกข้างล่างเลยค่ะ

ข้าวแกงเจ้าพระยา
๓๓๕/๓ ถ.พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๑๘๑๑ (ข้าวแกง เปิดบริการ ๐๖.๐๐-๑๔.๓๐ น.)


ครัวท่าลาภ
๒๓๖ ม.๗ ต.ธรรมมูล โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๔๓๕๖ (อาหารไทยตามสั่ง, ปลาแม่น้ำ เปิดบริการ๐๙.๓๐-๒๑.๐๐ น.)
ปุ๊ ๒๒๒ ถ.พหลโยธิน ต.บ้านกล้วย
โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๒๔๐๒ (อาหารตามสั่ง, พื้นเมือง เปิดบริการ ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น.)

แพริมน้ำ
๑๗ ม. ๒ (ท่าข้าวโพด) ต.บ้านกล้วย
โทร. ๐ ๕๖๔๒ ๑๔๗๑ (อาหารตามสั่ง, ปลาแม่น้ำ เปิดบริการ ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.)

แพรุ่ง
๑๘๕ ม.๒ (ท่าข้าวโพด) ต.บ้านกล้วย
โทร. ๐ ๕๖๔๗ ๖๐๑๙ (อาหารตามสั่ง, ปลาแม่น้ำ เปิดบริการ ๐๙.๐๐-๒๒.๐๐ น.)

เรือนแพ
(หน้าศาลากลางจังหวัด) ๕ ถ.ชัยณรงค์ ต.ในเมือง
โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๑๖๒๕, ๐ ๕๖๔๑ ๑๘๒๕ (อาหารไทย, จีน ปลาแม่น้ำ เปิดบริการ ๐๘.๐๐-๒๒.๐๐ น.)

นำชัย คอฟฟี่ เฮาส์
ในโรงแรมนำชัย ๖๓/๒๒ ถ.คงธรรม ต.ในเมือง
โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๑๗๒๔-๕ (อาหารตามสั่ง เปิดบริการ ๐๗.๐๐-๒๑.๐๐ น.)
 
ห้องอาหารโรงแรมมนตรี
๓๐๙/๓๐ ถ.พหลโยธิน ต.บ้านกล้วย โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๑๕๒๓–๔ (อาหารไทย, จีน เปิดบริการ ๐๖.๓๐-๒๓.๐๐ น.)
 
สวนอาหารเรือนไม้
๒๐๕ ม.๗ ต.บ้านกล้วย โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๑๒๖๖, ๐๘ ๑๙๕๓ ๗๕๑๖
(ปลาม้านึ่งซีอิ๊ว, ฉู่ฉี่ปลาเนื้ออ่อน, ปลากะพงสองใจ)
 
สเต็ก ๘๙
(ชัยนาท รีสอร์ท ) ๓๐๙/๗๗ ม. ๕ ถ.พหลโยธิน ต.บ้านกล้วย โทร. ๐ ๕๖๔๑๑๑๕๔
(สเต็กหมู, เสต็กปลา, เสต็กไก่, มักกะโรนี, สปาเก็ตตี้, สลัดผัก เปิดบริการ ๑๖.๐๐ -๒๒.๒๐ น.)
 
บ้านณัฐชนน
๓๒๕ ม.๕ ต. ชัยนาท ตรงข้ามวิทยาลัยพยาบาล โทร ๐๕๖๔๐๕๕๙๓
(ขาหมูณัฐชนน, ปลาคังผัดฉ่า, ปลาช่อนโบราณ เปิดบริการ ๑๑.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.)
 
ลาบเป็ดชัยนาท
๓๒ ม.๕ ต.บ้านกล้วย ถนนชัยนาท- ตาคลี ๐๕๖๔๑๔๑๔๙
(อาหารเกี่ยวกับเป็ด เปิดบริการ ๐๙.๐๐ - ๒๑.๓๐ น.)
 
ห้องอาหารระเบียงทิพย์
๖๐/๕๔ ถนนวงษ์โต ต.ในเมือง โทร ๐๕๖๔๒๐๒๙๙
(หอยอึ๋ม, กุ้งหนีน้ำ, ปากเป็ดทอด, ปลาช่อนลุยสวน เปิดบริการ ๑๐.๐๐ - ๒๔.๐๐๐ น.)
 
เรือนรังนก
ถนนชัยนาท – ตาคลี ต.เสือโฮก โทร ๐๕๖๔๕๖๓๓๖
 
ไก่ย่างท่าพระ
ถนนสายเอเชีย โทร ๐๘๙๗๑๕๗๕๘๔


เครดิต คลิก

เขื่อนเจ้าพระยา

เขื่อนเจ้าพระยา

(เขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย)

       เชื่อว่าหลายคนคงไม่ค่อยทราบกัน ว่าเขื่อนที่ใช้เป็นที่กักเก็บน้ำ ที่ใดถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และตั้งอยู่ที่จังหวัดใดของประเทศ เรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆกัน นะค่ะ.................

        เขื่อนเจ้าพระยา เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 3 ตำบลบางหลวงอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อน
เขื่อนเจ้าพระยามีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 1ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง 10เมตร ยาว 1,000 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย อัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่การปล่อยน้ำจะควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อมิให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา
      ทัศนียภาพ รอบเขื่อน สวยงาม ช่วงเดือนมกราคมใน บริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อนจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นมาอาศัยหากิน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทองคลองชัยนาท-ป่าสักและคลองชัยนาท-อยุธยาและยังใช้ผลิต ไฟฟ้าสำหรับจ่ายในจังหวัด


        ภาค กลางสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาตั้งแต่ชัยนาทถึงอ่าวไทย เดิมการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ปีที่ฝนแล้งเกษตรกรในอดีตจึงได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ

             ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปี พ.ศ. 2491 ขณะที่หลายประเทศประสบภาวะขาดแคลนอาหารองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติ(FAO) จึงได้พิจารณาถึงความจำเป็นของโครงการเจ้าพระยาใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เดือนตุลาคมปีนั้นกรมชลประทานจึงได้เสนอโครงการต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบตามที่เสนอ ประกอบกับในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้เข้าเป็นสมาชิกธนาคารโลก จึงขอกู้เงินเพื่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2493 เป็นเงินจำนวน18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
            ทั้งนี้เป็นหลักพยานอันหนึ่งถึงความเพียรพยายามที่จะดำเนินการอันจะก่อ ประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันดีของคนไทย ตามคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เห็นได้แล้วว่า ความสำเร็จของเขื่อนเจ้าพระยาได้ส่งผลให้แก่พื้นที่นาทั้งสองฝั่งในระยะ เริ่มแรกแล้วเพียงไร ข้าพเจ้าขออนุโมทนาด้วย และขอบรรดาท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนี้จงได้รับคำชมเชยทั่วกัน"


เครดิต คลิก
Animated Blinking Gingerbread Man